วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2559



กุญแจซอล


รามาทำความรู้จักกับ สัญลักษณ์ต่าง ๆ กันก่อน...ดูรูปประกอบนะครับ..
                           บรรทัด 5 เส้น - เอาไว้เขียนโน้ตลงไปครับ เส้นที่ 1 อยู่ข้างล่าง เส้นที่ 5 อยู่ข้างบน

กุญแจจี (G Clef) - หัวกุญแจจะเริ่มจากบรรทัดเส้นที่ 2 นั่นคือ โน้ตที่เขียนทับบันทัดเส้นที่ 2 จะเป็นโน้ต G ครับ อิอิ (แล้วผมจะเอาข้อความในรูปมาพิมพ์ทำไมเนี่ย555) พวกเราชาวกีตาร์จะใช้สัญญลักษณ์ G Clef ครับ ถ้ามือเบส จะใช้ F Clef ครับ แต่ถ้าใครเล่นเปียโน หรือ คีย์บอร์ด ต้องใช้ทั้ง 2 แบบ

Time Signature - ไอ้ตัวเลข 4/4 ที่เราเห็นเนี่ยแหละ เขาเอาไว้กำหนดว่า..
เลขตัวบน : จะบอกว่าใน 1 ห้องของเพลงนั้น ๆ มีกี่จังหวะ
เลขตัวล่าง : จะบอกว่า ในแต่ละห้องจะใช้โน้ตอะไรในการเดินจังหวะ
Bar Line : หรือเส้นกั้นห้อง เอาไว้แบ่งห้อง


                                                                     เส้นน้อย
ในรูปจะแสดงเส้นน้อย หรือ Ledger Line เอาไว้เขียนโน้ตที่มีค่าต่ำ หรือ สูงกว่าบรรทัด 5 เส้น

โน้ตต่าง ๆ บนบรรทัด 5 เส้น


มาดูค่าโน้ตบนเส้นบรรทัดกันก่อนครับ
บรรทัดเส้นที่ 1 เป็นโน้ต E
บรรทัดเส้นที่ 2 เป็นโน้ต G
บรรทัดเส้นที่ 3 เป็นโน้ต B
บรรทัดเส้นที่ 4 เป็นโน้ต D
บรรทัดเส้นที่ 5 เป็นโน้ต F
หรือให้จำเป็นแบบท่องจำครับ Every Good Boy Does Fine ครับ

สำหรับค่าโน้ตที่เขียนระหว่างเส้นก็จะเป็น..
ระหว่างเส้นที่ 1 กับ 2 เป็นโน้ต F
ระหว่างเส้นที่ 2 กับ 3 เป็นโน้ต A
ระหว่างเส้นที่ 3 กับ 4 เป็นโน้ต C
ระหว่างเส้นที่ 4 กับ 5 เป็นโน้ต E


                                                      โน้ตบนคอกีตาร์เราอยู่ตรงไหนบนบรรทัด 5 เส้น

โดยที่โน้ตต่ำสุดบนคอกีตาร์ที่ตั้งสายตามแบบมาตรฐาน คือ โน้ต E สายเปล่า ซึ่งตรงกับ โน้ตที่เขียนอยู่ใต้เส้นน้อยที่ 3 ด้านล่าง ตามในรูปครับ สำหรับโน้ตอื่น ๆ ลองไล่หาดูครับ











ทีนี้มาทำความเข้าใจสัดส่วนโน้ต
ในที่นี้ผมจะกำหนดให้ใน 1 ห้อง มีค่าเท่ากับ 4 จังหวะ
นั่นคือ ใช้ Time Signature แบบ 4/4
ขอให้จำไว้ว่า สัดส่วนโน้ตไม่สามารถกำหนดตายตัวลงไปได้ จนกว่าจะกำหนดค่า Time Signature ครับ
สัดส่วนโน้ตต่าง ๆ ที่เจอบ่อย ๆ จะเป็นดังนี้

Whole Note : หรือโน้ตตัวกลม, 1 ตัว จะมีค่าเท่ากับ 4 บีท (หรือ 4 จังหวะ) นั่นหมายความว่า ถ้าเราดีดค่า Whole Note ไป 1 ที จะต้องตบเท้าไป 4 ครั้ง

Half Note : หรือโน้ตตัวขาว, 1 ตัว จะมีค่าเท่ากับ 2 บีท (หรือ 2 จังหวะ) นั่นหมายความว่า ถ้าเราดีดค่า Half Note ไป 1 ที จะต้องตบเท้าไป 2 ครั้ง และถ้าเล่นให้ครบห้องจะต้องมีโน้ต Half Note 2 ตัว

Quarter Note : หรือโน้ตตัวดำที่บ้านเราเรียก, 1 ตัวจะมีค่าเท่ากับ 1 บีท (หรือ 1 จังหวะ) ดีด 1 ตัวตบเท้า 1 ครั้ง, ใน 1 ห้องจึงสามารถมี Quarter Note ได้ 4 ตัว

Eighth Note : หรือโน้ตเขบ็จ 1 ชั้น, 1 ตัวจะมีค่าเท่ากับ ครึ่งบีท (2 ตัว = 1 บีท) ตบเท้า 1 ครั้งดีดโน้ตประเภทนี้ไป 2 ที คือ จังหวะตกดีดลง จังหวะยก ดีดขึ้น.. ใน 1 ห้องจึงสามารถมี Eight Note ได้ 8 ตัว ครับ อิอิ

มาถึงตรงนี้งงมั้ยครับ...ถ้ายังไม่งงมาต่อกันอีกครับ

Sixteenth Note : หรือโน้ตเขบ็จ 2 ชั้น, 1 ตัวจะมีค่าเท่ากับ 1/4 บีท (หรือ 1 บีทจะมีโน้ตชนิดนี้ 4 ตัว) นั่นหมายความว่า ใน 1 ห้องจะสามารถเขียนโน้ตประเภทนี้ได้ถึง 16 ตัวครับ





โน้ตอื่น ๆ บนคอกีตาร์ก็ลองทำความเข้าใจตามรูป
ลองฝึกดู ไม่ยากครับ ที่สำคัญ ต้องเข้าใจสัดส่วนโน้ตครับ ฝึกดีดค่าโน้ตต่าง ๆ กับเมโทนอม จะช่วยให้การเล่นของท่านสม่ำเสมอ และเข้าใจอะไรมากขึ้น



คราวนี้เรามาทำความรู้จักกับเครื่องหมายเงียบเสียงหรือ "Rest" กัน
REST : คือการเงียบเสียงในดนตรีครับ ดนตรีไม่ได้มีแต่เสียงหรือโน้ตที่เปล่งออกมาแค่อย่างเดียวนะครับ ยังมีการเงียบเสียงที่มีความสำคัญมาก ๆ รวมอยู่ด้วย เพราะการเงียบเสียง หรือการไม่เล่นก็คือส่วนประกอบหลักของดนตรีเหมือนกัน...

ผมขอกำหนดให้ใน 1 ห้องมี 4 จังหวะโดยใช้ Time Signature 4/4 นะครับ

Whole Rest : มี่ค่าสัดส่วนเท่ากับ Whole Note ครับ คือ 4 Beat หรือ 4 จังหวะ นั่นคือการเงียบเสียง หรือ หยุดเล่นไป 4 จังหวะใน 1 ห้องนั่นเอง (สัญลักษณ์ จะเป็นเส้นขีดทึบอยู่ใต้เส้นบรรทัดที่ 4 ดังรูปนะครับ)

Half Rest : มี่ค่าสัดส่วนเท่ากับ Half Note ครับ คือ 2 Beat หรือ จังหวะ นั่นคือการเงียบเสียง หรือ หยุดเล่นไป 2 จังหวะ โดยที่ใน 1 ห้องสามารถมี Half Rest ได้ 2 นั่นเอง (สัญลักษณ์ จะเป็นเส้นขีดทึบอยู่บนเส้นบรรทัดที่ 3 ดังรูปนะครับ)

Quarter Rest : มี่ค่าสัดส่วนเท่ากับ Quarter Note ครับ คือ 1 ตัวมีค่า 1 Beat หรือ 1 จังหวะ นั่นคือการเงียบเสียง หรือ หยุดเล่นไป 1 จังหวะ ใน 1 ห้องสามารถมี Quarter Rest ได้ 4 ตัว (สัญลักษณ์ จะเป็นดังรูปนะครับ)

Eighth Rest : มี่ค่าสัดส่วนเท่ากับ Eighth Note ครับ คือ 1 ตัวมีค่า คร่ง Beat หรือ ครึ่ง จังหวะ (2 ตัว = 1 บีท) นั่นคือการเงียบเสียง หรือ ใน 1 ห้องสามารถมี Eighth Rest ได้ 8 ตัว (สัญลักษณ์ จะเป็นดังรูปนะครับ)











รูปต่อมาเป็น แบบฝึกหัดเปรียบเทียบ ค่าโน้ต และ ค่า Rest ในสัดส่วนโน้ต และ Rest แบบต่าง ๆ ลองฝึกเล่นดูครับ
โดยโน้ตบนบรรทัดที่เห็นจะเป็นโน้ต G บนสายเปิดสายที่ 3 ของกีตาร์ ลองเล่นตามค่าโน้ตและ หยุดเล่นตามค่า Rest ที่เห็น ที่สำคัญฝึกกับ Metronome จะช่วยให้เข้าใจมากขึ้นครับ... 



ที่มา: http://www.guitarthai.com/lessonboard/question.asp?QID=1177






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น